วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

อานาปานสติในชีวิตประจำวัน (4)

   
       การเจริญอานาปานสติ  เป็นอย่างไร ?  อานาปานสติต้องรักษาสุขภาพใจดีเป็นเป้าหมาย จริง ๆ แล้วพระพุทธเจ้าตรัสถึงอานาปานสติไว้ว่า   การเจริญอานาปานสติมีผลใหญ่  มีอานิสงส์ใหญ่  ทำให้สามารถเจริญ  สติปัฏฐาน   ๔  ให้บริบรูณ์  การเจริญสติปัฏฐาน  ๔  ย่อมให้โพชฌงค์  ๗  สมบรูณ์  และการเจริญโพชฌงค์  ๗  ให้มากย่อมทำให้วิชชาและวิมุตติสมบรูณ์จิตใจของเราก็จะเข้าถึงอริยมรรค  อริยผล  เข้าถึงพระนิพพาน  ถ้าเราปฏิบัติถูกต้องตามหลักอานาปานสติแล้ว  พระันิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุด

    ทีนี้สำหรับเราทุกคน  โดยเฉพาะเมื่อเป็นชาวพุทธ  เราต้องตั้งเป้าหมายอยู่ที่สุขภาพใจไม่ดี  สุขภาพใจไม่ดีคือลักษณะอย่างไร ?   สุขภาพใจไม่ได้  ก็ขี้เกียจ  ขี้ฟุ้งซ่าน  ขี้น้อยใจ  ขี้กลัว  ขี้โกรธ  ขี้อิจฉา   เป็นต้น   การอธิบายเรื่ิิองจิตใจ  ภาษาไทยบอกชัด ๆ  ถ้านำด้วยคำว่า "ขี้"  ก็หมายถึงสกปรก  การเจริญอานาปานสติ  ก็คือ  การระลึกถึงลมหายใจออก  ลมหายใจเข้าเป็นเบื้องต้น  ปกติพูดถึงอานาปานสติหลายคนก็เข้าใจผิด ว่าเป็นสมถกรรมฐาน  เพียงแต่ทำจิตใจสงบอย่างเดียว  จริง ๆ แล้วการเจริญอานาปานสติเป็นการเจริญสติปัฏฐาน ๔   ตามที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้

   สติปัฏฐาน  ๔  คือ  มองดูทั้งหมด  มองดูกาย  และจิตใจ  และความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ  เราพยายามมองเห็นตามความจริงของชีวิตคือการเจริญอานาปานสติ  เราต้องเข้าใจ  การรักษาจิตใจตลอดวัน   ตลอดคืน   ก็เป็นสิ่งสำคัญที่สุด  เมื่อพูดถึงสุขภาพใจดี  เราต้องติดตามดูจิตตลอดกลางวัน  กลางคืน  ตลอดชีวิต  บางทีเรียกว่าเป็นอานาปานสติ

     ความหมายของอานาปานสติ  ตามรูปศัพท์แล้ว  อานาปานสติ  คือ   ระลึกถึงลมหายใจออก  ลมหายใจเข้า  แต่ในการปฏิบัติจริง ๆ แล้ว  การเจริญอานาปานสติ  คือ  การกำหนดดูตัวเราเองทั้งหมดทั้งกายและจิตใจ  ตามดูเฉพาะจิต  รักษาจิต  ตลอดวัน  ตลอดคืน  เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้


       เพื่อให้เข้าใจชัดเจน  สมมุติว่าอานาปานสติเป็นหน้าต่าง  หน้าต่างที่จะมองดูจิตใจ   สมมุติว่าห้องนี้ปิดรอบ  ๆ มีหน้าต่างเพียงบานเดียว   เพื่อเรามองดูจากข้างนอก   ทำนองนี้อานาปานสติก็เป็นหน้าต่างที่ใช้ทองดูจิตใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น